วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาไทยวันละคำวันนี้เสนอคำว่า "วิกฤติส้มตำปู"


5 ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลใหม่ต้องเผชิญ
รอยเตอร์ออกบทวิเคราะห์ถึงอุปสรรคที่รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องเผชิญด้านต่างๆ ไว้ดังนี้

1.ความท้าทายทางเศรษฐกิจ
พรรคเพื่อไทยหาเสียงโดยชูนโยบายประชานิยมหลายข้อ เช่น การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ รับจำนำข้าวในราคาสูงสำหรับชาวนา ลดภาษีนิติบุคคลรวมทั้งลดราคาน้ำมันลง ซึ่งนโยบายเหล่านี้ถูกคาดหวังว่าต้องทำให้ได้ แต่ภาคเอกชนและนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา

นโยบายดังกล่าวอาจจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในการอุปโภค-บริโภค แต่ก็อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นและก่อหนี้สาธารณะมากขึ้น บริษัทเอกชนบางแห่งอาจจะไม่สามารถจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มสูงขึ้นได้ แม้ว่าจะมีการปรับลดการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลแล้วก็ตาม นอกจากนี้ข้อเสนอที่จะยกเลิกการจัดเก็บเงินอุดหนุนน้ำมันบางประเภทเข้ากองทุนน้ำมัน ทำให้เป็นการยากที่จะหาแหล่งเงินทุนมาสนับสนุนเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ จะทำให้ราคาก๊าซหุงต้มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำให้คนส่วนใหญ่ไม่พอใจ

2.ความเสี่ยงจากการชุมนุมประท้วง

การชุมนุมประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2 ครั้งในปี 2549 และ 2551 ส่งผลสะเทือนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเครือข่ายของเขาเป็นอย่างมาก แต่การสนับสนุนต่อกลุ่มพันธมิตรค่อยๆ ลดลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ความหนาแน่นของการต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณในหมู่ชนชั้นกลางในเมือง รวมทั้งผู้มีอำนาจอิทธิพลหลังฉากยังคงสูงอยู่ ทำให้คนเหล่านี้อาจจะกลับมารวมตัวกันและสร้างปัญหาหนักให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้

โดยกลุ่มต่อต้านมองว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นตัวแทนของ พ.ต.ท.ทักษิณ และได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ยุบพรรคเพื่อไทย ในข้อกล่าวหาว่าผู้อยู่เบื้องหลังการบริหารพรรคตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองซึ่งผิดกฎหมาย

3.การยอมรับจากทางกองทัพ
น.ส.ยิ่งลักษณ์จะต้องก้าวย่างอย่างระมัดระวังในเรื่องนี้ แต่เธอยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ ยากลำบากในการตัดสินใจ ว่าจะเลือกเปลี่ยน แปลงผู้นำระดับสูงของกองทัพ และแต่งตั้งคน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งเป็นการเสี่ยงที่จะถูกรัฐประหาร หรือคงไว้อย่างเดิม ซึ่งก็เสี่ยงต่อการไม่ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ หรือถูกต่อต้านเมื่อรัฐบาลเริ่มที่จะสูญเสียความนิยม

ตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมจะถือเป็นการประนีประนอมกันที่สำคัญอย่างยิ่งระหว่างรัฐบาลใหม่กับกองทัพ ซึ่งนายพลเกษียณราชการที่มีความใกล้ชิดกับผู้นำเหล่าทัพจะเป็นตัวเลือกที่ดี ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ จะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้อีกสมัย

4.ปัญหาจากการนิรโทษกรรม
แม้ว่าจะไม่ใช่นโยบายที่ระบุไว้อย่างเป็นทางการ แต่พรรคเพื่อไทยคาดหวังว่าจะพยายามนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ถูกตัดสินว่า มีความผิดในคดีทางการเมือง ซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ระบุว่า พรรคเพื่อไทยมีแผนการนำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน โดยที่ไม่ต้องรับโทษติดคุกในข้อหาทุจริตอยู่ในใจด้วย ซึ่งเป็นประเด็นที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกเป็นอย่างมาก เรื่องนี้จะก่อให้เกิดเสียงชื่นชมยินดีในหมู่คนจนที่สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ แต่จะก่อให้เกิดความไม่พอใจในหมู่คนส่วนใหญ่ที่ไม่ชอบเขา ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นแรงผลักดันให้กลุ่มพันธมิตรสามารถใช้อารมณ์ความรู้สึกต่อต้านทักษิณ จุดกระแสระดมคนให้ออกมาชุมนุมประท้วงได้เป็นจำนวนมากอีกครั้ง ซึ่งอาจโค่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ลงจากตำแหน่งได้

ที่สำคัญกว่านั้นศัตรูที่เคยโค่น พ.ต.ท.ทักษิณ ลงจากอำนาจ ต้องระแวงการผูกใจเจ็บของ เขาและจะร่วมมือกันเคลื่อนไหวต่อต้าน น.ส. ยิ่งลักษณ์

5.การสนับสนุนของเสื้อแดง

หากคณะกรรมการอิสระที่ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์สลายการชุมนุม ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ ถูกกันออกไป หรือผลสอบที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจ กลุ่มเสื้อแดงบางส่วนอาจหันมาต่อต้านรัฐบาลได้ แต่หากผู้นำกองทัพถูกตัดสินว่ามีความผิด อาจเกิดการล้างแค้นขึ้น ขณะที่แกนนำเสื้อแดงบางส่วนคาดหวังว่า จะได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนความจงรักภักดี แต่หากดูจากความรู้สึกเกลียดชังที่คนไทยส่วนใหญ่มีต่อกลุ่มคนเสื้อแดง การแต่งตั้งให้คนเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรีจะส่งผลสะท้อนในด้านลบออกมา
วิกฤติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำตามนโยบาย และไม่กระทำตามนโยบายอีกมากมายที่กำลังก่อตัวขึ้นในจิตใจคนไทย
การไม่สามารถหาเงินมาทำตามนโยบาย อาจจะกลายเป็นการขายรัฐวิสาหกิจด้วยการแปรรูปเข้าสู่ตลาดหุ้น
การไปยุ่งเกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งจะมีแรงต่อต้านขนานใหญ่ รวมไปถึงมีแนวโน้มว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนได้ให้ฉันทามติผ่านการลงประชามติไปแล้ว
วิกฤตการณ์ที่คนเสื้อแดงมุ่งมั่นที่จะนำพาประเทศไปสู่รัฐประชาธิปไตยตามอุดมการณ์ ซึ่งหมายถึงการโค่นล้มระบอบเดิม ยังคงเป็นปัญหาที่กรุ่นอยู่ภายในพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง
วิกฤติครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ยากที่จะทำใจให้สบายได้..หากประเทศไทยยังคงมีนายกรัฐมนตรีปูแดงคนนี้
จึงอยากจะให้ชื่อวิกฤติการณ์ ทางการเมืองของไทยครั้งนี้ว่า
"วิกฤติส้มตำปู"
คงไม่เกินเลยความจริง
แคน ไทเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น